SEARCH

1.นายเดวิด เดลี (Mr. David Daly) เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย 2.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ 3.นางสาวอันนา สคาวุซโซ (Ms. Anna Scavuzzo) รองนายกเทศมนตรีนครมิลาน 4.นายเปาโล ดิโอนิซี (Mr. Paolo Dionisi) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิตาลีประจำประเทศไทย (28 พ.ย. 66) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดตัวนโยบายอาหารกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2566-2570 ตามเครือข่ายกติกาสัญญานโยบายอาหารในเมืองมิลาน ณ โรงแรมรอยัล ออร์คิด เชอราตัน เขตบางรัก โดยมี นายเดวิด เดลี (Mr. David Daly) เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย นายเปาโล ดิโอนิซี (Mr. Paolo Dionisi) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิตาลีประจำประเทศไทย นางสาวอันนา สคาวุซโซ (Ms. Anna Scavuzzo) รองนายกเทศมนตรีนครมิลาน นายพาโบล กานดารา (Mr. Pablo Gandara) หัวหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างเมืองและภูมิภาคนานาชาติประจำภูมิภาคเอเชียและออสตราเลเชีย (โครงการ IURC Asia and Australasia) นายฟิลิปโป กาวาสเซนี (Mr. Filippo Gavazzeni) หัวหน้าสำนักงานเลขานุการเครือข่ายกติกาสัญญานโยบายอาหารในเมืองมิลาน (MUFPP) นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พญ.วันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร รักษาราชการแทนปลัดกรุงเทพมหานคร นายพรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารด้านความยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร (Chief Sustainability Officer: CSO) และผู้เกี่ยวข้องร่วมพิธีเปิด ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวภายหลังเปิดตัวนโยบายอาหารฯ ว่า เรื่องอาหารเป็นเรื่องสำคัญ เพราะในเมืองมีการบริโภคอาหาร เกิดอาหารเหลือ เกิดความไม่เท่าเทียมกัน เกิดเรื่องคุณภาพอาหาร เป็นมิติที่อาจไม่ค่อยได้พูดถึงกัน ความร่วมมือวันนี้เริ่มจากที่กรุงเทพมหานครมีความร่วมมือกับเมืองมิลานที่ได้มีการประชุมเรื่องนโยบายอาหารของเมือง โดยมีเมืองเครือข่าย 200 กว่าเมือง พอกรุงเทพมหานครเข้าร่วม ทาง EU ได้ให้เงินสนับสนุนให้กรุงเทพมหานครทำนโยบายอาหารกรุงเทพมหานครเหมือนกับมิลาน เป็น Bangkok Food Policy เน้นความเท่าเทียม คุณภาพ และความยั่งยืน มีนโยบาย 7 ด้าน ได้แก่ เสริมความเข้มแข็งการผลิตอาหารในเมือง สร้างมาตรฐานตลาดและจุดกระจายสินค้าเกษตรและอาหาร ยกระดับสถานประกอบการอาหารในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ธนาคารอาหารและส่วนลดค่าอาหาร จัดการขยะอาหารเป็นระบบครบวงจร ส่งเสริมความรู้ด้านโภชนาการสำหรับเด็กและประชาชน และหลักธรรมาภิบาลที่ดี เพื่อให้มีความมั่นคงทางอาหารมากขึ้น ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีนโยบายอาหารของกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวต่อไปว่า ความร่วมมือที่จะแลกเปลี่ยนกันได้ เช่น เรื่องธนาคารอาหาร ซึ่งจะมีการดำเนินการเป็นต้นแบบในบางเขตก่อน โดยเริ่มที่เขตห้วยขวางแล้วค่อยขยายไปเขตอื่น ตอนนี้ที่เขตห้วยขวางมีการทำศูนย์ที่มารับอาหารได้ ต่อไปจะมีการพัฒนาเป็นดิจิทัลให้เป็นเครดิตหรือเป็นแต้มให้คนที่ต้องการสามารถเข้ามาชอปปิ้งและหักแต้มไปเหมือนไปซูเปอร์มาร์เก็ต โดยเขตจะเป็นคนดูว่าใครที่จะได้รับสิทธิ์หรือแต้มตรงนี้ ทั้งนี้ นโยบายอาหารเป็น 1 ใน 8 ด้าน ของเป้าหมายการผลักดันความยั่งยืนเมือง ประกอบด้วย 1. ขยะ 2. ขนส่ง 3. พื้นที่สีเขียว 4. พลังงาน 5. อากาศ 6. น้ำ 7. อาหาร 8. บริหารจัดการและเศรษฐกิจสีเขียว สำหรับกิจกรรมการเปิดตัวนโยบายอาหารฯ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 – 29 พฤศจิกายน 2566 ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่ 1. การนำเสนอนโยบายอาหารของกรุงเทพมหานคร เป็นการนำเสนอกระบวนการการดำเนินงานของกรุงเทพมหานครที่ผ่านการประสานความร่วมมือจากเครือข่ายกติกาสัญญานโยบายอาหารในเมืองมิลาน (Milan Urban Food Policy Pact : MUFPP) และ International Urban and Regional Cooperation Asia and Australasia : IURC Asia and Australasia) ของสหภาพยุโรป นำไปสู่การร่างนโยบายอาหารกรุงเทพมหานคร เพื่อไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีเมืองสมาชิก MUFPP เข้าร่วมงาน พร้อมด้วยเครือข่ายภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคประชาสังคม ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลและเชื่อมต่อความร่วมมือระหว่างกัน 2. การเสวนา และการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เป็นการอภิปราย และแบ่งปันประสบการณ์ระหว่างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการอาหารของกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยผู้แทนจากกรุงเทพมหานคร ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคประชาสังคม ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเร่งรัดการดำเนินงานของเมืองและการนำนโยบายด้านการบริหารจัดการอาหารครบวงจรของเมืองไปปฏิบัติ โดยมีประเด็นหลักเรื่องธนาคารอาหาร อาหารส่วนเกิน การจัดการขยะอาหาร อาหารโรงเรียน และอาหารปลอดภัย สู่การดำเนินโครงการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และ 3. การศึกษาดูงานการดำเนินงาน District Food Management Sandbox ได้แก่ 1) การเยี่ยมชม BKK Food Bank Huai Khwang District Model ของสำนักงานเขตห้วยขวาง เป็นการนำเสนอการบริหารจัดการอาหารในพื้นที่เขต การจัดทำโครงการ Food Bank การดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายตามแนวคิด “บวร” ได้แก่ วัดพระราม 9 เฉลิมพระเกียรติ ชุมชนในพื้นที่ และโรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญ ซึ่งเป็นโรงเรียนต้นแบบการบริหารจัดการขยะอย่างครบวงจร และเป็นต้นแบบอาหารสำหรับนักเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างยั่งยืน 2) การเยี่ยมชม District Food Management Sandbox ของสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ เป็นการนำเสนอการบริหารจัดการอาหารของเขตซึ่งมีความโดดเด่นในเรื่องธุรกิจร้านอาหาร และการบริหารจัดการอาหารร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน การจัดทำ Food Bank และการพัฒนาพื้นที่เสื่อมโทรมที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่เขตชั้นในที่เป็นแหล่งผลิตอาหาร Photo By Somchai Poomlard   --------------------------------------- Published caption:: Serving up food policy... Bangkok governor Chadchart Sittipunt and high-level delegates from Europe make heart symbols with their fingers at the  unveiling of City Hall’s policy to promote  Bangkok as the City of Food to strengthen food  security and sustainability. Somchai Poomlard

Your recent history

  • Recently searched

    • Recently viewed links

      Did you find what you were looking for? Have you got some comments for us?