img-detail-photo

ลุงเอี่ยม คัมภิรานนท์ อดีตขอทานที่อาศัยอยู่วัดไร่ขิงได้รับมอบเงินช่วยเหลือจากรองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการที่บ้านพักสวัสดิการที่ลุงอาศัยอยู่ใกล้วัด พร้อมทั้งประทับนิ้วมือเพื่อเป็นการยินยอมรับเบี้ยคนชรา 600 บาทต่อเดือนและเบี้ยความพิการ 800 บาทต่อเดือน โดยหลังจากที่มีข่าวออกมาว่าลุงเอี่ยมขอทานที่เคยบริจาคเงินให้กับวัดไร่ขิงกว่าล้านบาทถูกห้ามไม่ให้เข้าไปขอทานในวัดได้อีกตามพรบ.ขอทานจึงทำให้มีการมอบเงินช่วยเหลือดังกล่าว วันนี้(15 มี.ค.59) นางขวัญวงศ์ พิกุลทอง รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) เดินทางไปที่วัดไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เพื่อตรวจสอบชีวิตความเป็นอยู่ของนายเอี่ยม คัมภิรานนท์ หรือ ลุงเอี่ยม อายุ 65 ปี ขอทานใจบุญ หลังมีการนำเสนอเรื่องราวความป็นอยู่ที่ยากลำบาก เนื่องจากเงินที่ได้จากการขอทาน ลุงเอี่ยมก็บริจาคคืนให้วัดและช่วยเหลือผู้อื่นจนหมด นางขวัญวงศ์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เคยส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาสอบถามลุงเอี่ยมว่าต้องการจะเข้าไปอยู่ในสถาน สงเคราะห์คนชราหรือไม่เนื่องจากสะดวกและมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลอย่างทั่วถึง แต่ลุงเอี่ยมรู้สึกผูกพันกับวัดไร่ขิงจึงอยากอยู่ที่วัดนี้ต่อไป กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ จึงส่งเจ้าหน้าที่แวะเวียนมาดูแลเรื่องสุขภาพให้เป็นระยะและวันนี้เองก็ได้ นำของใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวันมามอบให้ โดยหลังจากนี้ไปกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ จะต้องบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ลุงเอี่ยมได้รับสิทธิ์ใน สวัสดิการของรัฐ เช่น เบี้ยผู้สูงอายุ เบี้ยคนพิการและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เนื่องจากลุงเอี่ยมนับเป็นตัวอย่างที่ดีของสังคมจนได้รับรางวัลประชาบดี ประเภทบุคคลผู้อยู่ในภาวะยากลำบากที่ประพฤติตนดีเด่นเมื่อปี 2555 ด้วย ส่วนเรื่องที่คณะรัฐมนตรีมีมติ เห็นชอบ พระราชบัญญัติ ควบคุมการขอทาน โดยให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ดำเนินการแก้ไขจัดระเบียบขอทานนั้น รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ระบุว่า รัฐบาลมุ่งเอาผิดกับขบวนการแสวงประโยชน์และขบวนการค้ามนุษย์ แต่หากลุงเอี่ยมเข้าไปนั่งอยู่ภายในวัดเฉยๆ โดยไม่ได้แสดงการร้องขอเงินจากผู้มาทำบุญ ก็ไม่ถือว่าเป็นการขอทานแต่อย่างใด สำหรับการจัดระเบียบขอทานทั่วประเทศ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ได้ดำเนินการมาแล้ว 4 ครั้ง พบว่า พื้นที่กรุงเทพมหานครมีขอทานมากที่สุด รองลงมาคือจังหวัดชลบุรีและสมุทรปราการ โดยขอทานที่ถูกจัดระเบียบเป็นขอทานสัญชาติไทย 217 คน และขอทานต่างด้าว 94 คน Published caption :  Uncle Iam Kampeeranont, a 65-year-old beggar, who donated his savings of more than 1 million baht to Wat Rai Khing in Nakhon Pathom, poses for a picture after receiving his monthly allowance of 1,400 baht from the Ministry of Social Development and Human Security. Jiraporn Kuhakan

Photo Descriptions FOR SALE

Title

Giving it your all

Copyrights: License

BANGKOK POST

Date of taking this photo

March 15, 2016