img-detail-photo

ในรูปเป็นเครื่องเล่น Giant Drop (9 ก.ค. 62) เวลา 10.00 น. : นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ตรวจสุขลักษณะ ความปลอดภัย และอาชีวอนามัยประเภทกิจการสวนสนุกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ณ สยามพาร์คซิตี้ สวนสยาม ทะเล-กรุงเทพฯ โดยมี ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสำนักอนามัย ผู้บริหารเขตคันนายาว พร้อมด้วยภาคีเครือข่าย อาทิ กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่ตรวจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า กรุงเทพมหานคร มีความห่วงใยสุขภาพและความปลอดภัยของประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบด้านสุขภาพจากการใช้บริการเครื่องเล่นในสวนสนุก จึงมอบสำนักอนามัย โดยสำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมประสานความร่วมมือภาคีเครือข่าย พัฒนาแนวทาง หลักเกณฑ์ คู่มือการตรวจประเมินด้านสุขลักษณะความปลอดภัยและอาชีวอนามัยสำหรับกิจการสวนสนุก เพื่อความปลอดภัยของประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบด้านสุขภาพจากการใช้บริการเครื่องเล่นในสวนสนุก ซึ่งกทม. มุ่งเน้นด้านอาชีวอนามัย มาตรฐานความแข็งแรงและความปลอดภัยของเครื่องเล่นแต่ละประเภท โดยกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในการตรวจสอบ อาทิ มาตรฐานในการติดตั้งเครื่องเล่น คู่มือและวิธีการใช้ การดูแลและรักษาเครื่องเล่นให้มีสภาพที่แข็งแรง ส่วนในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินหรือเกิดอุบัติเหตุจนทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ต้องมีแผนการรับมือและแก้ไขปัญหา รวมถึงการดูแลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บเบื้องต้น นอกจากนี้สำนักงานเขตต่างๆ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมกิจการสวนสนุกจำนวน 48 แห่ง ในพื้นที่ 26 เขตของกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เดือนเม.ย.ที่ผ่านมา เบื้องต้นพบว่ามีใบอนุญาตก่อสร้างอาคารและใบอนุญาตประกอบกิจการ จำนวน 33 แห่ง ไม่มีใบอนุญาต 15 แห่ง จึงได้แจ้งให้ดำเนินการขอใบอนุญาตให้ถูกต้องภายใน 15 วัน หากไม่สามารถดำเนินการให้เรียบร้อยจะสั่งระงับการให้บริการ และมีโทษปรับสูงสุด 50,000 บาท นอกจากนี้ยังมีสวนสนุกชั่วคราวตามลานกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่ 7-30 วัน ซึ่งต้องขออนุญาต จึงกำชับเขตให้ตรวจสอบอย่างเข้มงวด ส่วนการตรวจประเมินสุขลักษณะของสถานที่ตั้ง ลักษณะอาคาร การสุขาภิบาล ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและการป้องกันเหตุรำคาญ ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จากการตรวจประเมินพบว่ากิจการสวนสนุกเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 40 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 83.33 ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 8 แห่งคิดเป็นร้อยละ 16.67 และใน 48 แห่ง เป็นสวนสนุกภายในอาคารห้างสรรพสินค้า 43 แห่ง อยู่ภายนอก 5 แห่ง สำหรับในรายที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน กรุงเทพมหานครได้แจ้งให้ผู้ประกอบการแก้ไขปรับปรุงให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานและมีความปลอดภัยต่อประชาชนผู้ใช้บริการ พร้อมทั้งขอความร่วมมือผู้ประกอบกิจการให้ใส่ใจในเรื่องการป้องกันการแพร่กระจายของโรคติดต่อที่อาจเกิดจากการใช้บริการเครื่องเล่นในสวนสนุก เช่นโรคมือ เท้า ปาก โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก ตาแดง เป็นต้น ซึ่งสามารถติดต่อโดยการสัมผัสและการอยู่ในพื้นที่ประชาชนไปใช้บริการหนาแน่นรวมทั้งควรดูแลบำรุงรักษาเครื่องเล่นตามมาตรฐานที่กำหนด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินสำหรับประชาชนผู้ใช้บริการและผู้ปกครองควรดูแลเด็กให้เล่นเครื่องเล่นอย่างเหมาะสมกับช่วงอายุและเล่นด้วยความระมัดระวัง ปฏิบัติตนตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย รวมทั้งควรล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังเล่นในสวนสนุก เพื่อป้องกันโรคติดต่อต่างๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ++++++++++++++++++ Published caption:: Safety first...City Hall officials take a ride on the ‘Giant Drop’ at an amusement park in Bangkok. The Bangkok   Metropolitan Administration is developing a   comprehensive guidebook that sets standards for the   inspection and evaluation of the safety and hygiene levels of attractions at 48 amusement parks in the   capital. Varuth Hirunyatheb

Photo Descriptions FOR SALE

Title

กิจกรรมการตรวจด้านสุขลักษณะ ความปลอดภัย และอาชีวอนามัย ประเภทกิจการสวนสนุก ในกรุงเทพมหานคร

Copyrights: License

BANGKOK POST

Date of taking this photo

July 9, 2019

Location

Bangkok